ปลาตะเพียน หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก
ปลาตะเพียน เครื่องรางที่โดดเด่นทางด้านค้าขาย เมตตามหานิยม เป็นโภคทรัพย์ โชคลาภเงินทอง ใช้บูชาหรือแขวนติดบ้านเรือนร้านค้า จะนำโชคลาภมาสู่เจ้าของหรือผู้ครอบครองบูชา สำหรับคนที่บูชาโดยเข้าใจและปฏิบัติในกุศโลบายธรรมที่ว่า เพียรหาทรัพย์ ดังคำสอนพุทธศาสนสุภาษิตที่ว่า “วิริเยน ทุกฺขมจฺเจติ” คนล่วงทุกข์ได้เพราะความเพียร
ปลาตะเพียนหลวงพ่อจงจะสร้างเป็นคู่เสมออย่างที่โบราณเรียกว่า “ปลาตะเพียนเงิน ปลาตะเพียนทอง” มีตัวผู้กับตัวเมีย ปลาตะเพียนเงินเป็นตัวผู้ ส่วนปลาตะเพียนทองเป็นตัวเมีย มีอานุภาพโดดเด่นด้านเมตตา โชคลาภ เห็นได้จากชื่อของปลาตะเพียนคือเงินและทอง อันมีความหมายถึง หมั่นเพียรหางเงินหาทอง ทรัพย์สินโชคลาภ ท่านจะลงยันต์ หัวใจพระคาถาต่างๆมีอานิสงส์ทางลาภ สักการะ เมตตา มหานิยม อาทิ นะชาลิติ(หัวใจพระสีวลี) นาสังสิโม( หัวใจพญาเต่าเรือน) อุกากะสะ (หัวใจมหาเศรษฐี) นะมะพะทะ (ตั้งธาตุทั้ง ๔) ยันต์ตรีนิสิงเห (เมตตา โชคลาภ)
ทิฏฐธัมมิกัตถสังวัตตนิกธรรม 4 – ธรรมที่เป็นไปเพื่อประโยชน์ในปัจจุบัน , หลักธรรมอันอำนวยประโยชน์สุขขั้นต้น
“ อุ อา กะ สะ “
1. อุฏฐานสัมปทา (ถึงพร้อมด้วยความหมั่น คือ ขยันหมั่นเพียรในการปฏิบัติหน้าที่การงาน ประกอบอาชีพอันสุจริต มีความชำนาญ รู้จักใช้ปัญญาสอดส่อง ตรวจตรา หาวิธีการ สามารถจัดดำเนินการให้ได้ผลดี – to be endowed with energy and industry; achievement of diligence)
2. อารักขสัมปทา (ถึงพร้อมด้วยการรักษา คือรู้จักคุ้มครองเก็บรักษาโภคทรัพย์และผลงานอันตนได้ทำไว้ด้วยความขยันหมั่นเพียร โดยชอบธรรม ด้วยกำลังงานของตน ไม่ให้เป็นอันตรายหรือเสื่อมเสีย – to be endowed with watchfulness; achievement of protection)
3. กัลยาณมิตตตา (คบคนดีเป็นมิตร คือ รู้จักกำหนดบุคคลในถิ่นที่อาศัย เลือกเสวนาสำเหนียกศึกษาเยี่ยงอย่างท่านผู้ทรงคุณมีศรัทธา ศีล จาคะ ปัญญา – good company; association with good people)
4. สมชีวิตา (มีความเป็นอยู่เหมาะสม คือ รู้จักกำหนดรายได้และรายจ่ายเลี้ยงชีวิตแต่พอดี มิให้ฝืดเคืองหรือฟูมฟาย ให้รายได้เหนือรายจ่าย มีประหยัดเก็บไว้ – balanced livelihood; living economically)
ธรรมหมวดนี้ เรียกกันสั้นๆ ว่า ทิฏฐธัมมิกัตถะ หรือเรียกติดปากอย่างไทยๆ ว่า ทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ (อัตถะ แปลว่า ประโยชน์ จึงมีประโยชน์ซ้ำซ้อนกันสองคำ)
หลวงพ่อจง พุทธสโร ท่านเป็นพระเกจิชื่อดังของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อครั้งท่านมีชีวิต ท่านได้บำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคมและพุทธบริษัททั้งหลาย โดยมิได้เลือกชนชั้นวรรณะ ใครขออะไรท่านปลดทุกข์คลายโศกให้ด้วยจิตที่มีเมตตา เป็นพระผู้สมถะ เมตตาสูง ท่านจะได้รับอาราธนานิมนต์ไปร่วมพิธิพุทธาภิเษกต่างๆ โดยเฉพาะพิธีใหญ่ต่างๆ ท่านจะได้รับเชิญไปร่วมเสมอ เช่น พิธีชินราชอินโดจีน ปี พ.ศ. 2485 , พิธีพระเครื่องฉลอง25พุทธศตวรรษ , พิธีวัดประสาทบุญญาวาส ปี พ.ศ. 2506 เป็นต้น
หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก เป็นพระเกจิที่มีชื่อเสียงมากจนได้รับฉายาว่าเป็น 1ใน4 พระเกจิที่โด่งดังในยุคสงครามอินโดจีน ได้แก่ หลวงพ่อจาด วัดบางกระเบา , หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก , หลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม , หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ หรือเป็นคำย่อ ” จาด-จง-คง-อี๋ “
ที่มา: https://84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=%CD%D8%AF%B0%D2%B9%CA%D1%C1%BB%B7%D2&detail=on